สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ความเป็นมาและเอกลักษณ์ของสำนักวิทยบริการ
เดิมสำนักวิทยบริการมีชื่อเรียกว่าห้องสมุด ซึ่งหลักฐานปรากฏในช่วงระยะเวลาประมาณ ปี พ.ศ. 2500 ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของอาคารเรียนชื่อ "อาคารสันติสุข"
เอกลักษณ์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การให้บริการสารสนเทศแก่บุคลากร นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย และบริการวิชาการแก่สังคม อีกทั้งมีความร่วมมือในการเป็นเครือข่ายสารสนเทศ ท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนให้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้สื่อทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อขยายการให้บริการวิชาการแก่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและแก่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยในด้านการบริการสารสนเทศนั้น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นให้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและประชาชนในท้องถิ่น
1957-06-21 11:11:51
พ.ศ. 2500 จัดตั้งห้องสมุด
พ.ศ. 2500 ความเป็นมาและเอกลักษณ์ของสำนักวิทยบริการ เดิมสำนักวิทยบริการมีชื่อเรียกว่าห้องสมุด ซึ่งหลักฐานปรากฏในช่วงระยะเวลาประมาณ ปี พ.ศ. 2500 ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของอาคารเรียนชื่อ "อาคารสันติสุข" วิทยาลัยครูนครราชสีมา ได้กำหนดห้อง 128 อาคาร 1 เป็นห้องสมุด มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 100 ตารางเมตร สถานที่บริการจะได้กว้างขวางขึ้น หนังสือจะเป็นหนังสือทั่วไป จะบริการอยู่ภายในห้องเดียวกันหมด จัดว่าเป็นห้องสมุดในยุคแรก
1965-01-25 00:51:30
พ.ศ. 2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคาร 2
พ.ศ. 2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคาร 2 (ห้อง 221 ซึ่งต่อมาจัดเป็นห้องปฏิบัติกิจกรรมนาฏศิลป์) ห้องสมุดช่วงนี้ขยายเป็น 3 ห้องเรียนติดต่อกัน ในช่วงที่ห้องสมุดตั้งอยู่ที่อาคาร 2 นั้น ได้เริ่มห้องสมุดเป็นรูปเป็นร่างอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2514 โดยมีอาจารย์มนูญ วงศ์คำดี เป็นบรรณารักษ์
1969-03-25 04:58:58
พ.ศ. 2512 เริ่มให้บริการที่อาคารใหม่
พ.ศ. 2512 เริ่มให้บริการที่อาคารใหม่ (อาคารวิชาการ) เพราะสถานที่เดิมคับแคบ ในครั้งนี้ห้องสมุดขยายเป็น 6 ห้องเรียนติดต่อกัน และแยกห้องอ้างอิงออกไปอีก 1 ห้อง เนื้อที่ใช้สอยของห้องสมุดประมาณ 500 ตารางเมตร ผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์มี 2 คน วัสดุที่ให้บริการมีแต่วัสดุตีพิมพ์ และเน้นทางด้านศึกษาศาสตร์ เพราะตามหลักสูตรเปิดสอนเฉพาะวิชาชีพครู จำนวนหนังสือ มีจำนวนประมาณ 40,000 เล่ม มีนักศึกษาเข้ามาช่วยงานห้องสมุด ในรูปของชุมนุมห้องสมุดโดยไม่มีค่าตอบแทนเป็นเงิน แต่จะได้รับเป็นคะแนนกิจกรรม นักศึกษาที่เข้ามาใช้ห้องสมุดมีมากขึ้นโดยเฉลี่ยเข้าใช้วันละประมาณ 500 คน เพราะมีนักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคค่ำ
1971-01-20 10:07:23
พ.ศ. 2514 ห้องสมุดอยู่ที่อาคาร 2 ชั้น 2 ห้อง 221
พ.ศ. 2514 ห้องสมุดอยู่ที่อาคาร 2 ชั้น 2 ห้อง 221 ปัจจุบันได้ทำการรื้อถอนไป เนื่องจากเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา บริเวณที่เป็นอาคาร 2 ในอดีตปัจจุบันคือบริเวณสวนหินแร่ ผู้บริหารสมัยนั้นคือ อาจารย์วิไลวรรณ เอื้อวิทยาสุพร รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยครูนครราชสีมา และทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการ อาจารย์มนูญ วงศ์คำดี จบปริญญาตรีสาขาภูมิศาสตร์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แต่มีความรู้และประสบการณ์ในการฝึกงานห้องสมุดโดยเคยทำงานกับอาจารย์วิชญ์ ทับเที่ยง อาจารย์สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร อาจารย์มนูญ วงศ์คำดี ได้มาช่วยดูแลห้องสมุดในช่วงปี 2514 โดยมีอาจารย์ที่เป็นหัวหน้าหมวดวิชาบรรณารักษ์คือ อาจารย์สุริยา ภูระ ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปวิทยาลัยครูมหาสารคาม จึงมีอาจารย์มนูญ วงศ์คำดี ปฏิบัติงานห้องสมุดเพียงท่านเดียว ต่อมาจึงย้ายจากหมวดสังคมศึกษาไปอยู่หมวดบรรณารักษ์และปฏิบัติงานห้องสมุดพร้อมด้วยคนงานอีก 2 คน นักศึกษาที่มาใช้บริการเป็นนักศึกษา ที่เรียนภาคปกติ และภาคค่ำ (นักศึกษาที่เรียนตอนเย็น) การบริการของห้องสมุดเปิดบริการ 08.00 น. ปิดบริการ 20.00-21.00 น. นักศึกษาส่วนใหญ่ไปใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าและทำรายงาน ห้องสมุด สมัยนั้นถือว่าเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ที่ทันสมัยที่สุด อาจารย์ที่มาใช้ส่วนใหญ่มาค้นคว้าเอกสารและเตรียมการสอน เนื่องจากห่างไกลแหล่งค้นคว้าในแต่ละวันจึงมีจำนวนอาจารย์และนักศึกษา ไปใช้ห้องสมุดค่อนข้างมาก นอกจากนี้ตามหลักสูตรการเรียนการสอนยังกำหนดวิชาห้องสมุดเป็นวิชาบังคับ และนักศึกษาต้องมาฝึกงาน งบประมาณที่ได้รับปีละประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อปี โดยมีฝ่ายพัสดุจัดซื้อ วัสดุที่ซื้อส่วนใหญ่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร (มนูญ วงศ์คำดี. สัมภาษณ์. 2547)
1973-01-20 10:07:23
พ.ศ. 2516 สถาบันได้รับงบประมาณในการสร้างอาคารห้องสมุดเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น
พ.ศ. 2516 สถาบันได้รับงบประมาณในการสร้างอาคารห้องสมุดเป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,600 ตารางเมตร การบริหารจัดการเป็นฝ่ายหนึ่งของสำนักส่งเสริม วิชาการ การบริหารงานภายในแบ่งออกเป็น 4 แผนก ดังนี้ 1. แผนกจัดหมู่และทำบัตรรายการ 2. แผนกวารสารและหนังสือพิมพ์ 3. แผนกบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า 4. แผนกซ่อมและบำรุงรักษาสิ่งพิมพ์ บุคลากรดำเนินงานประกอบด้วย อาจารย์ 4 คน และเจ้าหน้าที่ประมาณ 10 คน ในยุคนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ ทันสมัยมากขึ้น หลักสูตรการเรียนการสอนได้เปลี่ยนไปมีนักศึกษา 3 คณะ คือ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์งบประมาณที่ได้รับงบประมาณ ปีละ 100,000 บาท ผู้เข้าใช้ห้องสมุดโดยเฉลี่ยประมาณ 1,000 คนต่อวัน สิ่งตีพิมพ์ที่จัดซื้อหลากหลายสาขาตามหลักสูตร
1973-01-20 10:07:23
พ.ศ. 2536-2538 พระราชบัญญัติสภาสถาบันราชภัฏประกาศใช้ การเรียน การสอน เพิ่มหลักสูตรในสาขาวิชาต่าง ๆ
พ.ศ. 2536-2538 พระราชบัญญัติสภาสถาบันราชภัฏประกาศใช้ การเรียน การสอน เพิ่มหลักสูตรในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีก่อสร้าง เทคโนโลยีอุตสาหกรรม การออกแบบ นิเทศศิลป์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ นิติศาสตร์ และเปิดสอนหลักสูตรบัณฑิตศึกษาและอื่น ๆ มีผลทำให้ห้องสมุดได้รับงบประมาณในการดำเนินการมากขึ้น
1997-01-20 10:07:23
พ.ศ. 2540 สำนักวิทยบริการได้นำโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alice for Windows มาใช้ในการดำเนินงานห้องสมุด
พ.ศ. 2540 สำนักวิทยบริการได้นำโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alice for Windows มาใช้ในการดำเนินงานห้องสมุด
1998-01-20 10:07:23
พ.ศ. 2541 สถาบันได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ใช้ในการก่อสร้างสำนักวิทยบริการหลังใหม่
พ.ศ. 2541 สถาบันได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ใช้ในการก่อสร้างสำนักวิทยบริการหลังใหม่ เป็นอาคาร 6 ชั้น มีเนื้อที่ 5,000 ตารางเมตร โดยก่อสร้างติดกับอาคารสำนักวิทยบริการหลังเดิม
2001-01-20 10:07:23
พ.ศ. 2544-2545 อาคารสำนักวิทยบริการ (อาคารใหม่ 6 ชั้น) ก่อสร้างแล้วเสร็จ
พ.ศ. 2544-2545 อาคารสำนักวิทยบริการ (อาคารใหม่ 6 ชั้น) ก่อสร้างแล้วเสร็จ และสร้างทางเชื่อมต่อระหว่าง 2 อาคาร พื้นที่ใช้สอยรวม 6,000 ตารางเมตร และสมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงประทานนามอาคาร "บรรณราชนครินทร์" เมื่อวันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2545
2004-06-01 10:07:23
วันที่ 15 มิถุนายน 2547 "สถาบันราชภัฏนครราชสีมา" ได้รับการยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา"
วันที่ 15 มิถุนายน 2547 "สถาบันราชภัฏนครราชสีมา" ได้รับการยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา"
2005-04-01 10:07:23
เดือนเมษายน 2548 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานสำนักวิทยบริการ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ"
เดือนเมษายน 2548 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานสำนักวิทยบริการ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ" โดยสำนักวิทยบริการ(เดิม) รวมกับศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคาร 16 (อาคารธีรคาม) ชั้นล่าง
2007-06-01 10:07:23
เดือนมิถุนายน 2550 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่
เดือนมิถุนายน 2550 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ โดยศูนย์คอมพิวเตอร์ที่สังกัดสำนักวิทยบริการฯ ยกฐานะเป็น สำนักคอมพิวเตอร์ ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
2007-09-01 10:07:23
เดือนพฤศจิกายน 2550 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงาน
เดือนพฤศจิกายน 2550 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแยกงานผลิตสื่อกราฟิกให้ขึ้นตรงกับสำนักคอมพิวเตอร์